ตั้งค่ากระดาษที่ทำบล็อกมาแล้ว (Set Paper Print Form)
  

การตั้งค่ากระดาษที่ทำบล็อกมาแล้ว  - ในบางหัวข้อที่มีการพิมพ์ ข้อมูลลงในกระดาษ เช่นใบขาย, ใบ PO, ใบเสนอราคา, ใบวางบิล, ฯลฯ จะเป็นแบบฟอร์มของที่ทางโปรแกรม SabuySoft เป็นผู้กำหนด แต่ถ้าหากผู้ใช้ มีฟอร์มกระดาษเป็นของตัวเอง (ฟอร์มที่ทำบล็อคมาแล้ว) ก็สามารถให้โปรแกรม จัดตำแหน่งการพิมพ์ข้อมูล ให้ลงพอดีกับตำแหน่งในบล็อกได้ โดยการตั้งค่ากระดาษที่ทำบล็อกมาแล้ว มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้

graphic
- จากภาพด้านบน เป็น Form สำหรับจัดตำแหน่งที่จะพิมพ์ว่า จะให้พิมพ์ ข้อมูลส่วนไหน ลงตำแหน่งไหนของกระดาษ โดยสามารถอธิบายได้ตามตัวเลขในภาพ ดังต่อไปนี้

1. ส่วน Print Preview - คือส่วนแสดงภาพจำลองที่พิมพ์ออกในกระดาษ ซึ่งส่วนนอกจากเอาไว้ดูแล้ว ยังสามารถเลือก ข้อมูลที่ต้องการจะจัดตำแหน่งได้โดยการ Click ที่ข้อมูลนั้น เช่น Click ที่ CUSTOMER ADDRESS ดังภาพด้านล่าง
graphic
                - จากภาพด้านบน การ Click ที่กรอบ CUSTOMER ADDRESS แล้วกรอบที่ Click จะมีสีเป็นสีฟ้า แสดงว่ากำลังเลือกกรอบนี้อยู่ และที่ตาราง Edit Position ที่อยู่ทางด้านขวา ก็จะถูก Focus ไปที่แถว Customer Address (ที่อยู่ลูกค้า) โดยอัตโนมัติ

2. ส่วน การตั้งค่ากระดาษ และ Import-Export ค่าที่ตั้งไว้ลงไฟล์ - สำหรับส่วนนี้ สามารถกำหนดความกว้าง และ ความสูงของกระดาษ ค่าที่ป้อนจะต้องมีหน่วยเป็น 1 ใน 100 ของ 1 นิ้ว เช่นกระดาษกว้าง 9 นิ้วจะต้องป้อน 900
                - ปุ่ม Import From File - มีไว้สำหรับ Load ค่าที่เคยตั้งไว้จากไฟล์ มาใช้งาน โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้ว จะมี Form ขึ้นมาให้เลือก ไฟล์ที่ต้องการ Import โดยไฟล์ที่ Import จะต้องเป็นไฟล์ที่เก็บค่ากระดาษ ประเภทเดียวกัน ถึงจะ Import ได้โดยไม่มีการผิดพลาด แต่ถ้าเผลอไป Import ไฟล์ที่เก็บค่ากระดาษคนละประเภท เมื่อโหลดมาแล้วค่าที่โหลดมาได้จะไม่ถูกต้อง เช่น Import ค่าของใบขาย มาใส่ใน ค่าของใบวางบิล เป็นต้น
                - ปุ่ม Export To File - มีไว้สำหรับ Save ค่าที่ตั้งไว้ในขณะนี้เก็บไว้ในไฟล์ โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้ว จะมีข้อความขึ้นมาบอกว่า ค่าที่ Export ไปนั้นโปรแกรมเอาไปเก็บไว้ที่ไหนในเครื่อง (โดยปกติแล้วจะเก็บไว้ที่ "Folder ของโปรแกรม SabuySoft\PrintForm\ชื่อประเภทไฟล์.dat"

3. ตาราง Edit Position - เป็นตารางที่เอาไว้ตำแหน่งที่จะพิมพ์ ของข้อมูลแต่ละส่วน ที่จะแสดงในหน้ากระดาษ โดย ค่าที่ป้อนจะต้องมีหน่วยเป็น 1 นิ้ว คูณกับ 100 เช่นกระดาษกว้าง 9 นิ้วจะต้องป้อน 900 ซึ่งในตารางนี้มี หัวข้อดังต่อไปนี้
                - Hide - ถ้าเช็คถูกที่ช่องนี้ หมายความว่าข้อมูลในบรรทัดนี้จะไม่ถูกแสดงในตอนพิมพ์
                - Position Name - ชื่อข้อมูลที่จะพิมพ์ลงในใบขาย
                - X - ตำแหน่ง X ของข้อมูล (X = ค่าที่วัดจากด้านซ้ายสุดของกระดาษ)
                - Y - ตำแหน่ง Y ของข้อมูล (Y = ค่าที่วัดจากด้านบนสุดของกระดาษ)
                - Width - ความกว้างของข้อมูลที่ต้องการแสดง
                - Height - ความสูงของข้อมูลที่ต้องการแสดง
                - Font Size - ขนาดของตัวอักษรของข้อมูลที่ต้องการแสดง
                - Gap Height - ระยะห่างระหว่างบรรทัดของข้อมูลที่ต้องการแสดง ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถ กำหนดค่าได้ในส่วนของข้อมูล ที่แสดงได้หลายบรรทัดเท่านั้น เช่น Item, Product Name, Number, Unit, ฯลฯ
                - Max Line - จำนวนบรรทัดของข้อมูลที่ต้องการแสดง ใน 1 หน้า ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถ กำหนดค่าได้ในส่วนของข้อมูล ที่แสดงได้หลายบรรทัดเท่านั้น เช่น Item, Product Name, Number, Unit, ฯลฯ

4. ปุ่มอื่นๆ - ในส่วนที่ 4 นี้สามารถอธิบายวิธีการใช้งานของแต่ละปุ่ม ได้ดังต่อไปนี้
                - ปุ่ม Left 1 - ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้ไปทางซ้าย 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Left 5 - ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้ไปทางซ้าย 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Right 1 - ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้ไปทางขวา 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Right 5 - ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้ไปทางขวา 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Up 1- ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้เลื่อนขึ้นบน 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Up 5 - ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้เลื่อนขึ้นบน 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Down 1 - ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้เลื่อนลงล่าง 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Down 5 - ใช้สำหรับเลื่อนตำแหน่งข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้เลื่อนลงล่าง 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Width -1 - ใช้สำหรับลดความกว้างของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้น้อยลง 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Width -5 - ใช้สำหรับลดความกว้างของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้น้อยลง 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Width +1 - ใช้สำหรับเพิ่มความกว้างของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้มากขึ้น 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Width +5 - ใช้สำหรับเพิ่มความกว้างของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้มากขึ้น 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Height -1 - ใช้สำหรับลดความสูงของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้น้อยลง 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Height -5 - ใช้สำหรับลดความสูงของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้น้อยลง 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Height +1 - ใช้สำหรับเพิ่มความสูงของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้มากขึ้น 1 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Height +5 - ใช้สำหรับเพิ่มความสูงของข้อมูลที่ถูกเลือกอยู่ให้มากขึ้น 5 ส่วน 100 นิ้ว
                - ปุ่ม Default (ค่ามาตรฐาน) - ใช้สำหรับ Reset ค่าในตาราง Edit Position ให้เป็นค่าเริ่มต้น ที่ทางโปรแกรมได้ตั้งค่าไว้
                - ปุ่ม Save and Close - ใช้สำหรับบันทึกค่าในตาราง Edit Position ลงในฐานข้อมูล
                - ปุ่ม Close (Not Save) - ใช้สำหรับออกจากหน้านี้ โดยไม่มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล