ขายสินค้า (Sell)
  

graphic
สามารถเข้าใช้งานหัวข้อนี้ได้จากเมนู [ Sell (ขาย) -> Sell (ขายสินค้า) ]
หัวข้อนี้ มีไว้สำหรับ ขายสินค้า
หัวข้อ ขายสินค้า ถือเป็นหัวข้อสำคัญ เพราะจะเป็นหน้าที่มีการใช้บ่อยที่สุด และใช้ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือ บริการ

ขายสินค้า (Sell) มีวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
- ระบบการขายสินค้าของโปรแกรม SabuySoft สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระบบ คือ
                1. ระบบขายสินค้าแบบปกติ - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Option, SabuySoft Minimart, SabuySoft Business
                2. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าชุด - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Professional หรือถ้าหากซื้อ Version อื่นไป สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
                3. ระบบขายสินค้าแบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ - ระบบนี้จะใช้คู่กับ สินค้าที่มี Serial Number ไม่ได้ และต้องใช้ คู่กับ ระบบสินค้าที่สามารถติดลบได้เท่านั้น (Negative Stock) ซึ่งถ้าหากซื้อ Version อื่นไป สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
                4. ระบบขายสินค้าแบบสินค้าที่มี Serial Number - จะมาคู่กับโปรแกรม SabuySoft Professional โดยจะต้องใช้คู่กับ ระบบสินค้าที่ไม่สามารถติดลบได้ ซึ่งถ้าหากซื้อ Version อื่นไป สามารถที่จะ Upgrade เพิ่มเติมได้
                
- เพื่อความเข้าใจ จะเริ่มอธิบายเรียงตามลำดับ จากระบบที่ 1 (ระบบปกติ) ไปจนถึงระบบที่ 4 (ระบบ Serial Number)

1. ระบบขายสินค้าแบบปกติ
graphic
                - จากรูปด้านบน สามารถแบ่งขั้นตอนการใช้งาน เรียงตามตัวเลขดังนี้

graphic
                1. ส่วนระบุข้อมูลใบขายส่วนบน - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลของใบขายนี้ เช่น ขายให้ใคร, เลขที่บิลอะไร, มีภาษีหรือไม่มีภาษี (ถ้ามีภาษี เป็นแบบแยกนอกหรือรวมใน), ให้เครดิตกี่วัน, ขนส่งแบบไหน, เป็นต้น โดยสามารถอธิบายข้อมูลที่จะต้องป้อนตามนี้คือ
                                - ปุ่ม [F4] Barcode ลูกค้า - มีไว้สำหรับเลือกลูกค้า โดยการระบุ Barcode ลูกค้า โดยถ้ากดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ป้อน บาร์โค้ดลูกค้าดังภาพด้านล่าง
graphic
- จากรูปด้านบนให้ทำการป้อนบาร์โค้ดลูกค้า แล้วกดปุ่ม Enter หรือถ้าหากใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ก็สามารถสแกนบาร์โค้ดลูกค้าได้เลย จากนั้นโปรแกรมก็จะทำการดึงข้อมูล ลูกค้าที่มีบาร์โค้ดตรงกับที่ป้อน ไปยังหน้าขายโดยอัตโนมัติ
                                - ปุ่ม Customer - มีไว้สำหรับเลือกลูกค้า ในกรณีที่ไม่ได้ทำ Barcode ลูกค้าไว้ ก็สามารถเลือกลูกค้าได้โดยการ กดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าต่างสำหรับเลือก Customer (ลูกค้า) ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                                                                A. ให้ค้นหาลูกค้าที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาลูกค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการลูกค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Customer Detail ให้ Click เลือกรายการลูกค้าที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                                - หากยังไม่เคยมีข้อมูลลูกค้า สามารถเพิ่มรายชื่อลูกค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่ม)
                                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกลูกค้า
                                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการลูกค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกลูกค้า ก็ได้
                                                                                - หรือ Click เลือกรายการลูกค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกลูกค้าก็ได้
                                                - เมื่อเลือกรายการลูกค้าแล้ว ชื่อลูกค้าก็จะปรากฏอยู่ในหน้าขาย โดยถ้าหากลูกค้าเป็น ลูกค้าสมาชิก ก็จะมีข้อความแสดงด้านบนของชื่อลูกค้าว่า เป็นลูกค้าสมาชิกระดับไหน และถ้าหากลูกค้าคนที่เลือก ได้มีการตั้ง Credit, Shipping Address (สถานที่จัดส่ง), ส่วนลดท้ายบิล หรือ ช่องราคาขาย ไว้ โปรแกรมก็จะทำการนำค่ามาใช้ในหน้าขายให้โดยอัตโนมัติ
                                - Invoice No - ตรงนี้จะเป็นส่วนให้ป้อนเลขที่ใบกำกับใบขาย โดยสามารถป้อนเลขที่ใบกำกับเอง หรือสามารถตั้งให้โปรแกรมป้อนให้แบบอัตโนมัติ (Auto Invoice) โดยการไปตั้งในหน้า Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> สร้างเลขที่ใบกำกับโดยอัตโนมัติ (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch))
                                                - ถ้าหากไม่มีการป้อนเลขที่ใบกำกับใบขาย เวลาพิมพ์ใบขาย โปรแกรมจะใช้ เลขที่เอกสาร (Doc Number) แสดงแทน
                                - Date Time (วันที่) - ให้ระบุวันที่ที่ทำการขายของให้กับลูกค้า
                                                - ข้อควรระวังสำหรับการป้อน วันที่ขาย - ถ้าหากใช้ระบบสินค้าติดลบไม่ได้ จะไม่สามารถขายของที่ขายเข้ามาทีหลังได้ หรือกล่าวอีกอย่างว่า จะไม่สามารถขายสินค้า
ก่อนวันที่ซื้อสินค้าเข้าคลังได้ ถึงแม้ว่าจะป้อนใบซื้อก่อนที่จะเปิดใบขายแล้วก็ตาม เช่น ซื้อสินค้า A มา 1 ชิ้น วันที่ 2 มกราคา 2575 แต่เปิดใบขายวันที่ 1 มกราคม 2575 จะไม่พบสินค้า A ในคลังสินค้า เนื่องจากวันที่ 1 มกราคม 2575 ของยังไม่ได้เข้าคลัง แต่มาเข้าเอาวันที่ 2 มกราคม 2575
                                - Tax (ภาษี) - ให้เลือกว่า ใบขายใบนี้ มีภาษีหรือไม่มีภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
                                                - ยกเว้นภาษี (ไม่มีภาษี)
                                                - คิดภาษี (มีภาษี)
                                - Credit (วัน) - ป้อนจำนวนวันที่ทางเราให้เครดิตกับลูกค้า เพื่อที่จะได้เอาไว้ดูว่าใกล้ถึง Deal ที่จะต้องเรียกเก็บเงินจากลูกค้าหรือยัง
                                - VAT Type (ลักษณะภาษี) - ระบุลักษณะภาษี ซึ่งการระบุนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อเลือก Tax (ภาษี) ให้เป็น คิดภาษี โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
                                                - แยกนอก - ราคาสินค้ายังไม่รวมภาษี เช่น สินค้า 100 บาท ต้องคิดภาษีอีก 7% เป็น 107 บาท
                                                - รวมใน - ราคาสินค้า รวมภาษีแล้ว เช่น สินค้า 100 บาท รวมภาษี 7% แล้ว และราคาก่อนคิดภาษี = 93.46 บาท
                                - ใบเสนอราคาเลขที่ - ช่องนี้จะไม่สามารถป้อนค่าได้ ซึ่งโปรแกรมจะดึง ID ของใบเสนอราคามาแสดงเอง หากมีการทำรายการซื้อจากใบเสนอราคา
                                - PO (PO เลขที่) - ใบสั่งซื้อเลขที่ ให้ป้อนเลขที่ใบสั่งซื้อที่ได้มาจากลูกค้า เพื่อที่จะเอาไว้อ้างอิงในการค้นหาได้ในภายหลัง
                                - Delivery (การขนส่ง) - เลือกวิธีการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้า (สามารถเลือกหรือไม่เลือกก็ได้)
                                                - วิธีการขนส่งสินค้า จะมาจากการกำหนด การขนส่งไว้ก่อน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้า การขนส่ง (Delivery)
                                - Shipping Address (สถานที่จัดส่ง) - เลือกสถานที่จัดส่ง ที่จะส่งสินค้าไปให้ลูกค้า
                                                - สถานที่จัดส่งจะขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละราย โดยสามารถดูวิธีการเพิ่มสถานทีจัดส่ง ได้ที่หน้า ลูกค้า(Customer)
                                - Comment (หมายเหตุ) - ถ้าต้องการใส่หมายเหตุกำกับใบขายใบนี้ สามารถป้อนได้ที่ช่องนี้
                                - ID - แสดง ID ของใบขายที่โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าหากเป็นการเปิดใบขายใบใหม่ ID ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า ID ให้เอง แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบขาย ID ตรงนี้จะแสดง ID ของใบขาย ที่กำลังแก้ไขอยู่
                                - DocNo - แสดงหมายเลขเอกสาร (Document Number) ของใบขายที่โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าหากเป็นการเปิดใบขายใบใหม่ DocNo ตรงนี้จะแสดงเป็น 0 แต่พอบันทึกโปรแกรมจะใส่ค่า DocNo ให้เอง แต่ถ้าหากเป็นการแก้ไขใบขาย DocNo ตรงนี้จะแสดง DocNo ของใบขาย ที่กำลังแก้ไขอยู่    

graphic
                2. ส่วนตาราง Product (รายการสินค้า) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้า ที่จะขายในใบขายใบนี้ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - ลำดับ - ลำดับที่ เริ่มตั้งแต่ 1 ลงไป (หรือหมายถึงบรรทัดที่)
                                - ID - ID ของสินค้า
                                - รหัสสินค้า - รหัสของสินค้า
                                - Barcode - บาร์โค้ดของสินค้า
                                - ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
                                - จำนวน - จำนวนที่ขาย
                                - หน่วย - หน่วยที่ขาย
                                - ราคาก่อนลด - ราคาขายสินค้าต่อหน่วยก่อนได้รับส่วนลด
                                - ส่วนเงินสด - ในกรณีที่ลูกค้าต้องการใช้ส่วนลดเงินสดด้วย สามารถเปิดการใช้ส่วนลด ได้ที่เมนู Data (ข้อมูล) -> Branch (Branch) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> เปิดใช้ส่วนลดเงินสดในการขายแต่ละบรรทัด (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch)) เมื่อเปิดใช้งานส่วนลดเงินสด ก็จะมี Column ส่วนลดเงินสดขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                - ส่วนลด % - ส่วนลดของสินค้าต่อหน่วยเป็น %
                                - ราคาหลังลด - ราคาขายสินค้าหลังจากหักส่วนลดเงินสด และ ส่วนลด % แล้ว
                                - จำนวนเงิน - จำนวนเงินรวมหลังหักส่วนลดแล้วของสินค้าที่ขายในบรรทัดนี้ (จำนวน x ราคาหลังลด )
                                - จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่าสินค้ารายการนี้สามารถ ป้อนจำนวนเป็นทศนิยมได้
                                - ราคาซื้อสินค้าล่าสุด ก่อน Vat - แสดงราคาซื้อสินค้าล่าสุด ที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเอาไว้ประกอบการตัดสินใจได้ว่า จะลดราคาให้กับลูกค้าได้เท่าไหร่ (สำหรับ Column นี้จะแสดงก็ต่อเมื่อผู้ใช้ มีสิทธิ์ในการดูราคาซื้อสินค้าล่าลุด เท่านั้น ถ้าหากผู้ใช้งานไม่มีสิทธิ์ในการดู ราคาซื้อสินค้าล่าสุด Column นี้ก็จะไม่ปรากฎให้เห็น (วิธีการตั้งสิทธิ์สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หน้า พนักงาน (Officer))
                                - ราคาซื้อสินค้าล่าสุด หลัง Vat - แสดงราคาซื้อสินค้าล่าสุด ที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เพื่อเอาไว้ประกอบการตัดสินใจได้ว่า จะลดราคาให้กับลูกค้าได้เท่าไหร่ (สำหรับ Column นี้จะแสดงก็ต่อเมื่อผู้ใช้ มีสิทธิ์ในการดูราคาซื้อสินค้าล่าลุด เท่านั้น ถ้าหากผู้ใช้งานไม่มีสิทธิ์ในการดู ราคาซื้อสินค้าล่าสุด Column นี้ก็จะไม่ปรากฎให้เห็น (วิธีการตั้งสิทธิ์สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หน้า พนักงาน (Officer))
                                - ในส่วนบนของตาราง จะมีเครื่องหมาย + กับ - ที่ใช้เอาไว้สำหรับปรับขนาดตัวหนังสือ ในตารางให้เล็กหรือใหญ่ได้ตามต้องการ

graphic
                3. ส่วน Auto Input - เป็นส่วนที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในการป้อนรายการขายสินค้า ทำได้ง่าย และ รวดเร็วขึ้น โดยสามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - [F2] Auto Input - ช่อง Auto Input นี้จะเป็นช่องที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูล สินค้าที่ต้องการจะขายได้หลากหลายวิธี โดยถ้าหาก Cursor ไปอยู่ที่อื่นสามารถกดปุ่ม F2 เพื่อให้ Cursor มาอยู่ที่ช่อง Auto Input ได้ทันที. วิธีการป้อนข้อมูลในช่อง Auto Input มีดังต่อไปนี้
                                                A. ป้อนโดยใช้ บาร์โค้ดสินค้า - ป้อนบาร์โค้ดสินค้าโดยอ่านใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือ ป้อนโดยใช้ Keyboard แล้วกดปุ่ม Enter ก็ได้ ถ้าหากโปรแกรมพบสินค้าที่มีบาร์โค้ดตรงกับที่ป้อน ก็จะดึงรายการสินค้า มาใส่ในตาราง Product (รายการสินค้า)
                                                B. ป้อนโดยใช้ รหัสสินค้า - ป้อนรหัสสินค้า แล้วกดปุ่ม Enter ถ้าหากโปรแกรมพบสินค้าที่มีรหัสสินค้าตรงกับที่ป้อน ก็จะดึงรายการสินค้า มาใส่ในตาราง Product (รายการสินค้า)
                                                C. ป้อนโดยใช้ ส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า - ในกรณีที่บาร์โค้ดฉีกขาดไม่สามารถ ใช้เครื่องอ่านๆ ได้และไม่สามารถป้อนโดยใช้ Keyboard ได้. การป้อนโดยใช้ชื่อสินค้าก็เป็นทางเลือกหนึ่ง โดยป้อนส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า (ควรจะป้อนส่วนที่ไม่ค่อยซ้ำกับชื่อสินค้าอื่น) จากนั้นกดปุ่ม Enter โปรแกรมก็จะทำการค้นหาสินค้า ที่มีส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า ตรงกับที่ป้อนมาให้เลือก เช่น ป้อนคำว่า "ชาเขียว" ดังภาพด้านล่าง
graphic
                จากนั้นกดปุ่ม Enter จะมีหน้าเลือกสินค้าขึ้นมาโดยจะแบ่งได้เป็น 2 ระบบดังนี้คือ
                - ระบบ Stock ติดลบได้ - จะแสดงหน้า Select Product (เลือกสินค้า) ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                - จากภาพด้านบน จะเป็นหน้า เลือกสินค้า โดยรายการสินค้าที่แสดงในตาราง Product Detail (รายการสินค้า) จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับ "ชาเขียว" ทั้งสิ้น
                                - ให้ทำการเลือกรายการที่ต้องการโดยกดปุ่มลูกศร ขึ้น หรือ ลง แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
                                - หรือเลือกรายการโดยการใช้ Mouse double click ที่รายการที่ต้องการ เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
                                - หรือเลือกรายการที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
                - ระบบ Stock ติดลบไม่ได้ - จะแสดงหน้า Select Product In Stock (เลือกสินค้าในคลังสินค้า) ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                - จากภาพด้านบน จะเป็นหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้า โดยรายการสินค้าที่แสดงในตาราง Stock Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับ "ชาเขียว" เฉพาะที่มีอยู่ในคลังสินค้าเท่านั้น
                                - ให้ทำการเลือกรายการที่ต้องการโดยกดปุ่มลูกศร ขึ้น หรือ ลง แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
                                - หรือเลือกรายการโดยการใช้ Mouse double click ที่รายการที่ต้องการ เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
                                                                                - หรือเลือกรายการที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม OK เพื่อเพิ่มสินค้าที่เลือกลงในรายการขาย
                                                D. ป้อนบริการ - สามารถใช้ช่อง Auto Input ในการป้อนบริการได้โดยการกดปุ่ม * แล้วตามด้วย ค่าบริการ เช่น ป้อน "*500" ดังภาพด้านล่าง
graphic
                จากนั้นกดปุ่ม Enter โปรแกรมจะทำการเพิ่มการขายบริการ ลงในตาราง Product (รายการสินค้า) ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                D. ป้อนจำนวนขาย - ในช่อง Auto Input เราสามารถป้อนจำนวนขาย ก่อนที่จะป้อนข้อมูลสินค้าที่จะขาย เพื่อความรวดเร็วในกรณีที่ลูกค้าซื้อสินค้าเดียวกัน ในปริมาณ มากๆ เช่น ซื้อชาเขียว 15 ขวด แทนที่เราป้อนโดยการสแกนบาร์โค้ด 15 ครั้ง ก็ให้เราป้อนจำนวนขายให้เป็น 15 ก่อน แล้วค่อยสแกนบาร์โค้ด ครั้งเดียว ก็จะมีผลเหมือนกับการสแกนบาร์โค้ด 15 ครั้ง และประหยัดเวลากว่าเยอะ โดยวิธีการป้อนก็ให้ พิมพ์เครื่องหมาย + ก่อนแล้วตามด้วยจำนวนที่ต้องการขาย เช่น ป้อน "+15" ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                                จากนั้นกดปุ่ม Enter จะสังเกตุได้ว่าช่อง x [F3]จำนวน จะมีตัวเลข 15 ขึ้นมาดังภาพ
graphic
                                                                จากนั้นให้ทำการป้อนข้อมูลที่ต้องการขาย ลงในช่อง Auto Input เช่น ป้อนบาร์โค้ด "00003" ซึ่งเป็น บาร์โค้ดของ Product 3 ดังภาพด้านล่าง
graphic
จากนั้นกดปุ่ม Enter โปรแกรมก็จะทำการเพิ่มสินค้า Product 3 ลงไปในตาราง Product (รายการสินค้า) จำนวน 15  ชิ้นดังภาพด้านล่าง
graphic
                                - [F3] จำนวน - ช่องนี้เอาไว้สำหรับป้อนจำนวน ก่อนที่จะทำการป้อนข้อมูลในช่อง Auto Input โดยถ้า Cursor อยู่ที่อื่นสามารถกดปุ่ม F3 เพื่อให้ Cursor มาอยู่ที่ช่อง จำนวน แล้วทำการป้อนได้ทันที
                                                - หลังจากที่ป้อนจำนวนเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Enter แล้ว Cursor ไปอยู่ที่ช่อง Auto Input โดยอัตโนมัติ
                                                - ในกรณีที่ใช้จอระบบสัมผัส (Touch Screen) สามารถกดที่ปุ่ม [F3] จำนวน แล้วจะมีหน้าสำหรับ ป้อนจำนวนโดยใช้จอ Touch Screen ขึ้นมาดังภาพ
graphic
- จากภาพด้านบนให้กดที่ปุ่มตัวเลข เพื่อเป็นการป้อนจำนวน จากนั้น กดที่ปุ่ม OK เพื่อใช้จำนวนที่ป้อน แล้วกลับไปยังหน้าขาย
                                - [F8] ส่วนลด - ช่องนี้เอาไว้สำหรับป้อนส่วนลด % ก่อนที่จะทำการป้อนข้อมูลในช่อง Auto Input โดยถ้า Cursor อยู่ที่อื่นสามารถกดปุ่ม F8 เพื่อให้ Cursor มาอยู่ที่ช่อง ส่วนลด แล้วทำการป้อนได้ทันที
                                                - หลังจากที่ป้อนส่วนลดเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Enter แล้ว Cursor ไปอยู่ที่ช่อง Auto Input โดยอัตโนมัติ
                                                - ส่วนลดที่ป้อนจะไม่มีผลกับการป้อน บริการในช่อง Auto Input

graphic
                4. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Product (รายการสินค้า) - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะขายลงใน ตาราง Product (รายการสินค้า) โดยการเลือกสินค้า โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ
                                                - ระบบ Stock ติดลบได้ -  เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการสินค้า Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                - จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                A. ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Product Detail ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                                - หากยังไม่เคยมีข้อมูลสินค้า สามารถเพิ่มรายการสินค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
                                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
                                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
                                                                                - หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
                                                                -  เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกรายการสินค้า
                                                - ระบบ Stock ติดลบไม่ได้ -  เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้า Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                - จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                A. ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ จากคลังสินค้า โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Stock Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
                                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
                                                                                - หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
                                                                -  เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกสินค้าในคลังสินค้า
                                - ปุ่ม Add Service (เพิ่มบริการ) - ใช้สำหรับเพิ่มสินบริการที่จะขายลงใน ตาราง Product (รายการสินค้า) เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการบริการ Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
- จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
A. ให้ค้นหาบริการที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาบริการแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการบริการที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Service Detail (รายการ บริการ) ให้ Click เลือกรายการบริการที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                - หากยังไม่เคยมีข้อมูลบริการ สามารถเพิ่มรายการ บริการใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มบริการ)
                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกบริการ
                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการบริการในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกบริการ ก็ได้
                                                                - หรือ Click เลือกรายการบริการในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกบริการก็ได้
                                                -  เมื่อเลือกรายการบริการแล้ว บริการจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย โดยสามารถเลือกรายการบริการที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกรายการบริการ
                                - ปุ่ม Edit (แก้ไข) - ใช้สำหรับแก้ไข ชื่อสินค้าที่จะขาย, ชื่อบริการที่จะขาย, จำนวน, หน่วย, ราคาก่อนลด, ส่วนลด %, ส่วนลดเงินสด ของรายการสินค้าที่ต้องการขาย ในบรรทัดที่เลือกอยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า ต่างขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าอยู่ 3 บรรทัดโดยบรรทัดกลาง จะแสดงรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไข ส่วนบรรทัดบนจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่บนบรรทัดที่ต้องการแก้ไข และ บรรทัดล่างจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่ล่างบรรทัดที่ต้องการแก้ไข
                                                - เราสามารถแก้ไข ข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
                                                                - ชื่อสินค้าที่จะขาย - สามารถเปลี่ยนชื่อสินค้าที่จะขายในใบขายใบนี้ได้ โดยจะมีผลเวลาพิมพ์ใบขายสินค้า จะเหมาะสำหรับในบางกรณีที่ ขายสินค้าให้กับทางราชการ ซึ่งบางทีต้องการชื่อสินค้าเป็นภาษาไทย แต่ในระบบเราได้ป้อนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น CPU แต่อยากจะให้แสดงในใบขายเป็น หน่วยประมวลผล เป็นต้น
                                                                                - โดยปกติโปรแกรมจะถูกตั้งค่าไว้ไม่ให้ แก้ไขชื่อสินค้าเวลาขายสินค้า แต่ก็สามารถ ตั้งค่าให้เปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขายได้ โดยการตั้งค่าที่ เมนู Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> การเปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขาย (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch))
                                                                - จำนวน - จำนวนที่จะขาย
                                                                - Unit [F2] - ในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกหน่วยได้ โดย Click ที่ Unit (F2) ก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกหน่วยขึ้นมาดังภาพ
graphic
                                                                                โดยให้เราเลือกหน่วยที่ต้องการแล้วกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปหน้า แก้ไขจำนวน, หน่วย และ ราคาสินค้า
                                                                - ราคาก่อนลด - ราคาขายก่อนลด
                                                                - ส่วนลดเงินสด
                                                                                - โดยปกติโปรแกรมจะถูกตั้งค่าไว้ไม่ให้ แสดงช่องส่วนลดเงินสด แต่ก็สามารถ ตั้งค่าให้ให้แสดงส่วนลดเงินสดได้ โดยการตั้งค่าที่ เมนู Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> เปิดใช้ส่วนลดเงินสดในรายการขายแต่ละบรรทัด (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch))
                                                                - ส่วนลด % - สำหรับช่องส่วนลด % นี้เราสามารถป้อนส่วนลดซ้อนได้ เช่น 15+10+3 หมายความว่า ลด 15% แล้วตามด้วย 10% แล้วตามด้วย 3% ตามลำดับ ซึ่งจะเหมาะกับบางกิจการที่ใช้ส่วนลดซ้อน เช่นกิจการประเภทขายอุปกรณ์ก่อสร้าง
                                                - หากเป็นระบบ Stock ติดลบไม่ได้ จะมีจำนวน Stock แสดงอยู่ด้านล่างของ Column จำนวน จะเอาไว้แสดงว่าตอนนี้สินค้านี้ เหลืออยู่ในคลังสินค้ากี่ชิ้น
                                                - วิธีการเลื่อนบรรทัดสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
                                                                A. กดลูกศร ขึ้น เพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้น
                                                                B. กดลูกศร ลง เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
                                                                C. กดปุ่ม Enter จนกว่าจะเลื่อนบรรทัด - การกดปุ่ม Enter นี้จะใช้ประโยชน์ได้มาก และประหยัดเวลาที่เราจะต้องเอา Mouse ไปเลือกแก้ไขทีละรายการ โดยเมื่อป้อนจำนวนเสร็จ ให้กด Enter จากนั้นก็ป้อน ราคาก่อนลด แล้วกด Enter แล้วป้อนส่วนลดเงินสด (ถ้ามี) แล้วกด Enter แล้วป้อนส่วนลด % แล้วกด Enter ก็จะเป็นการเลื่อนบรรทัด
                                                - ข้อมูลจะถูกแก้ไขก็ต่อเมื่อทำการเลื่อนบรรทัดแล้วเท่านั้น
                                - ปุ่ม Delete (ลบ) - ใช้สำหรับลบของรายการสินค้าที่อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) โดยเลือกรายการที่ต้องการลบออกจากตาราง Product (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่ม Delete (ลบ)
                                - ปุ่ม Last Sell Price (ดูราคาขายล่าสุด) - ปุ่มนี้ใช้สำหรับดูว่าราคาที่ขายล่าสุด ที่ขายให้กับลูกค้าคนนี้ ราคาเท่าไหร่ วิธีใช้ก็ให้เลือกรายการสินค้าที่อยู่ใน รายการขายในตาราง Product (รายการสินค้า) แล้วกดปุ่มนี้ จะมีหน้า ดูราคาขายล่าสุดขึ้นมา ดังภาพด้านล่าง
graphic
- จากภาพด้านบนจะแสดงให้เห็นราคาของสินค้าชื่อ Product 1 ที่ขายให้กับลูกค้าชื่อ Customer 3 โดยแสดง 5 รายการล่าสุด วันที่เท่าไหร่ และ ราคาเท่าไหร่ (จากรูปด้านบนที่แสดง 2 รายการก็เพราะว่าลูกค้ารายนี้ เคยซื้อสินค้า Product 1 นี้ไปแค่ 2 ครั้งเท่านั้น)
- ในหน้านี้สามารถค้นหารายการสินค้าอื่นๆ ได้อีกโดยรายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่หน้า รายงาน ราคาขายสินค้าล่าสุด (Report Product Last Sell Price)
- ถ้าต้องการออกจากหน้านี้ให้กดปุ่ม Close
                                - ปุ่ม [+] - ใช้สำหรับขยายตัวหนังสือในตาราง Product (รายการสินค้า) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อทำให้ตัวโตอ่านง่าย
                                - ปุ่ม [-] - ใช้ย่อตัวหนังสือในตาราง Product (รายการสินค้า) ให้มีขนาดเล็กลง

graphic
                5. ส่วนระบุข้อมูลใบขายส่วนล่าง - ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ระบุข้อมูลส่วนท้ายของใบขายนี้ มีข้อมูลที่สามารถป้อนหรือดูได้ตามนี้คือ
                                - ปุ่ม ส่วนลด Promotion - ปุ่มนี้มีไว้สำหรับดูว่า ส่วนลดโปรโมชั่นที่เกิดขึ้นนั้น มาจากโปรโมรชั่นอะไรบ้าง และแต่ละโปรโมชั่นลดไปเท่าไหร่ นอกจากนั้นปุ่มนี้ยังสามารถใช้ดูได้อีกด้วยว่า ตอนนี้ที่ร้านมีโปรโมชั่นอะไรบ้าง เพื่อจะได้บอกลูกค้าได้ โดยเมื่อกดปุ่มนี้จะมีหน้าจอแสดง โปรโมชั่น ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนสามารถอธิบายได้ดังนี้
                                                                A. ส่วน ตาราง Effect Pomotion (โปรโมชั่นที่ใช้ในบิลนี้) - จะแสดงรายการโปรโมชั่นที่ ถูกใช้ภายในบิลขายใบนี้ โดยมีหัวข้อในตารางดังต่อไปนี้
                                                                                - ID - ID ของ โปรโมชั่นที่โปรแกรมสร้างขึ้น
                                                                                - Priority - ค่าความสำคัญของโปรโมชั่น (ค่านี้ถ้ายิ่งมากก็จะถูกนำมา คำนวนโปรโมชั่นก่อน)
                                                                                - ชื่อโปรโมชั่น
                                                                                - จำนวนครั้งที่ใช้ - จำนวนครั้งที่โปรโมชั่นนี้ ถูกใช้งาน ในใบขายใบนี้
                                                                                - ราคาก่อนโปรโมชั่น - ราคารวมของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ โปรโมชั่นนี้ก่อนที่ละหักส่วนลดโปรโมชั่น
                                                                                - ส่วนลดโปรโมชั่น
                                                                                - ราคาหลังโปรโมชั่น - ราคารวมของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ โปรโมชั่นนี้ หลังหักส่วนลดโปรโมชั่นแล้ว
                                                                                - Detail - รายละเอียดโปรโมชั่น
                                                                A. ส่วน ตาราง Enable Pomotion (โปรโมชั่นที่ สาขานี้ สามารถใช้ได้ในขณะนี้) - จะแสดงรายการโปรโมชั่นที่ สามารถใช้ได้ภายในสาขานี้ และเวลานี้ โดยมีหัวข้อในตารางดังต่อไปนี้
                                                                                - ID - ID ของ โปรโมชั่นที่โปรแกรมสร้างขึ้น
                                                                                - ประเภท - หมายเลขของประเภทของโปรโมชั่น สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่หน้า โปรโมชั่น (Promotion)
                                                                                - ความสำคัญ- ค่าความสำคัญของโปรโมชั่น หรือ Priority (ค่านี้ถ้ายิ่งมากก็จะถูกนำมา คำนวนโปรโมชั่นก่อน)
                                                                                - ชื่อโปรโมชั่น
                                                                                - วันที่เริ่มโปรโมชั่น - วันเริ่มต้นที่โปรโมชั่นนี้ สามารถใช้งานได้
                                                                                - ราคาก่อนโปรโมชั่น - วันสุดท้ายที่โปรโมชั่นนี้ สามารถจะใช้งานได้
                                                                                - หมายเหตุ - หมายเหตุกำกับโปรโมชั่น
                                                                                - Detail - รายละเอียดโปรโมชั่น
                                - ส่วนลด % - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลด % โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบขาย ที่ลดหลังจากรวมราคาขายทุกรายการแล้ว
                                                - ในกรณีที่ใช้จอระบบสัมผัส (Touch Screen) สามารถกดที่ปุ่ม ส่วนลด % แล้วจะมีหน้าสำหรับ ป้อนส่วนลด % โดยใช้จอ Touch Screen ขึ้นมาดังภาพ
graphic
- จากภาพด้านบนให้กดที่ปุ่มตัวเลข เพื่อเป็นการป้อนส่วนลด % จากนั้น กดที่ปุ่ม OK เพื่อใช้จำนวนที่ป้อน แล้วกลับไปยังหน้าขาย
                                - ส่วนลดเงินสด - ช่องนี้มีไว้สำหรับป้อนส่วนลดเงินสด โดยส่วนลดนี้จะเป็นส่วนลดทั้งใบขาย ที่ลดหลังจากรวมราคาขายทุกรายการแล้ว
                                                - ในกรณีที่ใช้จอระบบสัมผัส (Touch Screen) สามารถกดที่ปุ่ม ส่วนลดเงินสด แล้วจะมีหน้าสำหรับ ป้อนส่วนลดเงินสด โดยใช้จอ Touch Screen ขึ้นมาดังภาพ
graphic
- จากภาพด้านบนให้กดที่ปุ่มตัวเลข เพื่อเป็นการป้อนส่วนลดเงินสด จากนั้น กดที่ปุ่ม OK เพื่อใช้จำนวนที่ป้อน แล้วกลับไปยังหน้าขาย

2. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าชุด
                - สินค้าชุดหมายถึง สินค้าที่ขายเป็นชุด เช่น ชุดกระเช้าของขวัญ ที่ประกอบด้วย เครื่องดื่ม, นมผง, ช็อกโกแลต, ชาเขียว, ... เป็นต้น
graphic
                - จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนสินค้าชุดเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานจะเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
                
graphic
                1. ปุ่ม Add New Set (เพิ่มชุดสินค้าใหม่) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าชุดที่จะขาย เวลากดปุ่มนี้แล้ว จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ป้อน ชื่อชุดสินค้า กับ ราคาขายต่อ 1 ชุด ดังภาพต่อไปนี้
graphic
                                - จากภาพด้านบนให้ป้อน ชื่อชุดสินค้า แล้วป้อน ราคาขาย จากนั้นกด Enter หรือกดปุ่ม OK เพื่อให้รายการชุดสินค้า ไปอยู่ในรายการขายสินค้า โดยมีจำนวน 1 ชุด ซึ่งถ้าหากต้องการแก้จำนวนชุด ค่อยแก้ภายหลัง

graphic
                2. ส่วนตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) - ส่วนนี้จะเป็นตารางที่ใช้แสดง รายการสินค้าที่อยู่ในสินค้าชุด จำนวน 1 ชุด ซึ่งจะแสดงก็ต่อเมื่อ รายการสินค้าที่ Focus ในตาราง Product (รายการสินค้า) เป็นสินค้าชุด โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - ลำดับ - ลำดับที่ เริ่มตั้งแต่ 1 ลงไป (หรือหมายถึงบรรทัดที่)
                                - ID - ID ของสินค้า
                                - รหัสสินค้า - รหัสของสินค้า
                                - Barcode - บาร์โค้ดของสินค้า
                                - ชื่อสินค้า - ชื่อสินค้า
                                - จำนวน - จำนวนที่ขาย
                                - หน่วย - หน่วยที่ขาย
                                - จำนวนสินค้าเป็นทศนิยมได้ - เช็คถูกหมายความว่าสินค้ารายการนี้สามารถ ป้อนจำนวนเป็นทศนิยมได้

graphic
                3. ส่วน Auto Input - เป็นส่วนที่ช่วยอำนวยความสะดวก ในการป้อนรายการขายสินค้า ทำได้ง่าย และ รวดเร็วขึ้น โดยวิธีการใช้งานจะใช้เหมือนกับ ส่วน Auto Input ที่เคยอธิบายไว้แล้วในด้านบน ซึ่งจะขออธิบายแต่ส่วนที่แตกต่างจากด้านบน ดังต่อไปนี้
                                - สำหรับ Auto Input ส่วนนี้จะเป็นการป้อนรายการขาย ลงในตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด)
                                - กดปุ่ม [F5] เพื่อให้ Cursor มาอยู่ที่ช่อง Auto Input นี้
                                - กดปุ่ม [F6] เพื่อให้ Cursor มาอยู่ที่ช่อง จำนวน
                                - ในช่อง Auto Input ส่วนนี้ จะไม่สามารถป้อน บริการได้ เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้ป้อน สินค้าที่อยู่ในชุดเท่านั้น
                                - ส่วน Auto Input นี้จะไม่รองรับจอระบบสัมผัส (Touch Screen Monitor)

graphic
                3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) - ส่วนปุ่มนี้จะสามารถกดได้ ก็ต่อเมื่อมีการเลือกรายการสินค้าชุด ที่อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) โดยสามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม 1 (เพิ่มสินค้าในชุด) - ใช้สำหรับเพิ่มสินค้าที่จะขายลงใน ตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) โดยการเลือกสินค้า ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ
                                                A. ระบบ Stock ติดลบได้ - เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าเลือกรายการสินค้า Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                - จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                                                                A. ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Product Detail ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                                - หากยังไม่เคยมีข้อมูลสินค้า สามารถเพิ่มรายการสินค้าใหม่ในหน้านี้ได้เลย โดยการกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า)
                                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
                                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
                                                                                - หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
                                                                -  เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) ในหน้าขาย โดยสามารถเลือกรายการสินค้า มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกรายการสินค้า
                                                B. ระบบ Stock ติดลบไม่ได้ -  เมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้า Pop up ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                - จากภาพด้านบน ให้ทำตามขั้นตอนนี้คือ
                A. ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ จากคลังสินค้า โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Stock Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ จากในตาราง
                                                                C. กดปุ่ม OK เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า
                                                                                - ในกรณีที่รีบเร่ง สามารถ Double Click ที่รายการสินค้าในตาราง เพื่อยืนยันการเลือกสินค้า ก็ได้
                                                                                - หรือ Click เลือกรายการสินค้าในตารางแล้วกดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันการเลือกสินค้าก็ได้
                                                                -  เมื่อเลือกรายการสินค้าแล้ว สินค้าจะเข้ามาอยู่ในหน้าขาย โดยสามารถเลือกรายการสินค้าที่ต้องการ มากกว่า 1 รายการก็ได้ โดยเมื่อเลือกจนพอใจแล้วให้กดปุ่ม Close เพื่อปิดหน้าเลือกสินค้าในคลังสินค้า
                                - ปุ่ม 3 (แก้ไขสินค้าในชุด) - ใช้สำหรับแก้ไข จำนวน, หน่วย ของรายการสินค้าที่อยู่ในชุดสินค้า  ในบรรทัดที่เลือก ซึ่งเมื่อกกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เพิ่มต่างขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าอยู่ 3 บรรทัดโดยบรรทัดกลาง จะแสดงรายการสินค้าที่ต้องการแก้ไข ส่วนบรรทัดบนจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่บนบรรทัดที่ต้องการแก้ไข และ บรรทัดล่างจะเป็นบรรทัดของข้อมูลสินค้า ที่อยู่ล่างบรรทัดที่ต้องการแก้ไข
                                                - เราสามารถแก้ไข ข้อมูลได้ดังต่อไปนี้
                                                                - ชื่อสินค้าที่จะขาย - สามารถเปลี่ยนชื่อสินค้าที่จะขายในใบขายใบนี้ได้ โดยจะมีผลเวลาพิมพ์ใบขายสินค้า จะเหมาะสำหรับในบางกรณีที่ ขายสินค้าให้กับทางราชการ ซึ่งบางทีต้องการชื่อสินค้าเป็นภาษาไทย แต่ในระบบเราได้ป้อนเป็นภาษาอังกฤษ เช่น CPU แต่อยากจะให้แสดงในใบขายเป็น หน่วยประมวลผล เป็นต้น
                                                                                - โดยปกติโปรแกรมจะถูกตั้งค่าไว้ไม่ให้ แก้ไขชื่อสินค้าเวลาขายสินค้า แต่ก็สามารถ ตั้งค่าให้เปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขายได้ โดยการตั้งค่าที่ เมนู Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> การเปลี่ยนชื่อสินค้าเวลาขาย (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch))
                                                                - จำนวน - จำนวนที่จะขาย ต่อสินค้า 1 ชุด
                                                                - Unit [F2] - ในหน้าจอนี้เราสามารถเลือกหน่วยได้ โดย Click ที่ Unit (F2) ก็จะมีหน้าต่างสำหรับเลือกหน่วยขึ้นมาดังภาพ
graphic
                                                                                โดยให้เราเลือกหน่วยที่ต้องการแล้วกดปุ่ม OK เพื่อกลับไปหน้า แก้ไขจำนวน, หน่วย และ ราคาสินค้า
                                                - หากเป็นระบบ Stock ติดลบไม่ได้ จะมีจำนวน Stock แสดงอยู่ Colum ด้านขวาสุด จะเอาไว้แสดงว่าตอนนี้สินค้านี้ เหลืออยู่ในคลังสินค้ากี่ชิ้น
                                                - วิธีการเลื่อนบรรทัดสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
                                                                A. กดลูกศร ขึ้น เพื่อเลื่อนบรรทัดขึ้น
                                                                B. กดลูกศร ลง เพื่อเลื่อนบรรทัดลง
                                                                C. กดปุ่ม Enter จนกว่าจะเลื่อนบรรทัด - การกดปุ่ม Enter นี้จะใช้ประโยชน์ได้มาก และประหยัดเวลาที่เราจะต้องเอา Mouse ไปเลือกแก้ไขทีละรายการ โดยเมื่อป้อนจำนวนเสร็จ ให้กด Enter ก็จะเป็นการเลื่อนบรรทัด
                                                - ข้อมูลจะถูกแก้ไขก็ต่อเมื่อทำการเลื่อนบรรทัดแล้วเท่านั้น
                                - ปุ่ม 4 (ลบสินค้าในชุด) - ใช้สำหรับลบของรายการสินค้าใน ตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 4 (ลบสินค้าในชุด)

3. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าที่มีวันหมดอายุ
                - ในหน้าขาย ของระบบสินค้าที่มีวันหมดอายุ จะสามารถระบุได้ว่าสินค้าที่กำลังจะขายนี้ หมดอายุวันไหน ซึ่งในระบบสินค้าหมดอายุ สามารถใช้คู่กับระบบ สินค้าชุดได้ โดยในส่วน Help นี้จะอธิบายระบบสินค้าหมดอายุ ที่ใช้คู่กับระบบสินค้าชุดไปด้วยกัน ซึ่งเนื้อหาจะครอบคลุมกว่า
graphic
                - จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เป็นส่วนสินค้าที่มีวันหมดอายุเท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
                
graphic
                1. ส่วนตาราง Expirt - ในตารางนี้จะแสดงวันหมดอายุของสินค้าที่ ของรายการสินค้าที่จะขาย ในบรรทัดที่ Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) หรือ ตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) โดยจะแสดงจำนวนสูงสูดที่ สามารถป้อนวันหมดอายุได้ และจำนวนที่ป้อนไปแล้วในขณะนี้ โดยในตารางสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - Expire Date - วันหมดอายุของสินค้า
                                - จำนวน - จำนวนของสินค้าที่หมดอายุในวันที่ระบุใน Expire Date

graphic
                3. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตารางวันหมดอายุ - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม 6(เพิ่มExpire) - ใช้สำหรับเพิ่มวันหมดอายุสินค้า ลงในตารางวันหมดอายุ ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้า เลือกวันหมดอายุ ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบน โปรแกรมจะดึงข้อมูลในคลังสินค้ามาว่า ในขณะนี้ สินค้านี้ มีของที่มีวันหมดอายุ เหลืออยู่อย่างละกี่ชิ้น จากนั้นให้เลือกวันที่หมดอายุ ของสินค้า แล้ว กดปุ่ม Enter หรือ กดปุ่ม OK หรือ Double click ที่รายการที่เลือก แล้วจะมีหน้าให้ป้อนจำนวนที่ต้องการนำมาขาย ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                                - จากภาพด้านบน ให้ป้อนจำนวนที่ต้องการนำมาขาย โดยโปรแกรมจะทำการระบุจำนวนที่มากที่สุด ที่สามารถจะป้อนได้มาให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งหากต้องการแก้ไขก็สามารถระบุจำนวนที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter หรือ ปุ่ม OK เพื่อเป็นการเพิ่ม จำนวนขาย ของสินค้าที่มีวันหมดอายุ ตามรายการที่เลือกลงในตาราง Expire (ตารางวันหมดอายุ)
                                - ปุ่ม 7(ลบExpire) - ใช้สำหรับลบรายการวันหมดอายุของสินค้า ออกจากตาราง Expire (ตารางวันหมดอายุ) โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 7(ลบExpire)
                                - ปุ่ม 8(Auto Expire) - ใช้สำหรับให้โปรแกรม ทำการเลือกตัดสินค้าที่ใกล้หมดอายุ ออกไปก่อนโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องระบุ วันที่หมดอายุ และ จำนวนของวันหมดอายุ เวลาขาย เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการขาย แต่ถ้าให้โปรแกรมทำ Auto Expire เวลาที่เราทำการขายสินค้า จะต้องหยิบสินค้าที่ใกล้หมดอายุ ขายออกไปก่อนทุกครั้ง เพื่อทำให้ Stock วันหมดอายุตรงกับในโปรแกรม
                                                - ถ้าหากปุ่ม 8(Auto Expire) อยู่ในสภาพเช็คถูกจะมีหน้าจอดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - โดยปกติแล้วถ้าลงโปรแกรม SabuySoft ครั้งแรก ถ้าใช้ระบบสินค้าชุด จะถูกตั้งค่าไว้ Default ให้เป็น Auto Expire ซึ่งเราสามารถไปเปลี่ยนค่า Default ได้ที่ เมนู Data (ข้อมูล) -> Branch (สาขา) -> Set Default Property (กำหนดค่าเริ่มต้นในการใช้โปรแกรมของสาขา) -> Tab ขาย -> ตัดสินค้าที่ใกล้หมดอายุออกก่อนโดยอัตโนมัติ (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน สาขา (Branch))

4. ระบบขายสินค้าแบบมีสินค้าที่มี Serial Number
                - Serial Number  หมายถึง หมายเลขประจำตัวของสินค้า ซึ่งหมายเลขที่สามารถเป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษรก็ได้ ที่ไม่ซ้ำกันเลยในในสินค้าชนิดเดียวกัน
                - ในหน้าขายสามารถป้อน Serial Number ของสินค้าที่จะขายได้ โดยระบบสินค้าที่มี Serial Number สามารถใช้คู่กับระบบ สินค้าชุดได้ โดยในส่วน Help นี้จะอธิบายระบบสินค้าที่มี Serial Number ที่ใช้คู่กับระบบสินค้าชุดไปด้วยกัน ซึ่งเนื้อหาจะครอบคลุมกว่า
graphic
                - จากรูปด้านบนจะอธิบายเฉพาะส่วน ที่เกี่ยวข้องกับส่วน Serial Number เท่านั้น เนื่องจากส่วนอื่นๆ ได้อธิบายไว้ด้านบนแล้ว โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานเรียงตามตัวเลขได้ดังนี้
                
graphic
                1. ส่วนตาราง Serial Number - ในตารางนี้จะแสดง Serial Number ของรายการสินค้าบรรทัดที่ Focus อยู่ในตาราง Product (รายการสินค้า) หรือ ตาราง Product Set (รายการสินค้าต่อ 1 ชุด) โดยจะแสดงจำนวนสูงสูดที่ สามารถป้อน Serial Number ได้ และจำนวนที่ป้อนไปแล้วในขณะนี้ โดยในตารางสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
                                - Serial Number - หมายเลขประจำตัวสินค้าที่กำลังจะขาย (ในสินค้าชนิดเดียวกันจะไม่ซ้ำกัน)

graphic
                2. ส่วนปุ่มที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในตาราง Serial Number - สามารถอธิบายตามปุ่มดังต่อไปนี้
                                - ปุ่ม 6(เพิ่มSerial) - ใช้สำหรับเพิ่ม Serial Number ลงในตาราง Serial Number ซึ่งเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าให้ป้อน Serial Number ขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากภาพด้านบนให้ป้อน Serial Number ที่ต้องการขายแล้วกด Enter หรือ กดปุ่ม OK เพื่อเพิ่ม Serial Number ลงในตาราง Serial Number
                                                - การป้อน Serial Number ควรใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดเป็นตัวป้อน เพราะจะกันการป้อนผิด
                                - ปุ่ม 7(ลบExpire) - ใช้สำหรับลบรายการ Serial Number ของสินค้า ออกจากตาราง Serial Number โดยเลือกรายการที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม 7(ลบExpire)
                                - ปุ่ม 8(เพิ่ม Serial แบบเลือก) - ใช้สำหรับเพิ่ม Serial Number ที่ต้องการขาย โดยให้โปรแกรมแสดงหมายเลข Serial Number ทั้งหมดของสินค้านี้ แล้วเราจะทำการเลือกเอา โดยเมื่อกดปุ่มนี้แล้วจะมีหน้าให้เลือก Serial Number ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                - จากรูปด้านบน ในตาราง Serial Detail (รายละเอียด Serial Number) จะแสดง Serial Number ของสินค้านี้ที่มีอยู่ในคลังสินค้าทั้งหมดขึ้นมา จากนั้นให้เลือกรายการ Serial Number ที่ต้องการขาย แล้วให้กดปุ่ม OK เพื่อเพิ่ม Serial Number ที่เลือกในตาราง Serial Number ในหน้าขาย
                                                - ในกรณีที่มีรายการ Serial Number เยอะ สามารถที่จะค้นหาได้ โดยการพิมพ์ส่วนหนึ่งของ หมายเลข Serial Number ลงในช่อง ค้น Serial Number จากนั้นกด Search (ค้นหา) แล้วข้อมูลที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Serial Detail (รายละเอียด Serial Number)

graphic
                3. ส่วน Auto Input ด้านบน - สำหรับส่วนนี้การใช้งานจะเหมือนกับ ที่ได้เคยอธิบายไว้แล้วด้านบน แต่ในระบบ Serial Number จะเพิ่มวิธีป้อนข้อมูลในช่อง Auto Input มาอีก 1 วิธีคือ
                                - ป้อนโดยใช้ Serial Number - ป้อน Serial Number ของสินค้าโดยอ่านใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือ ป้อนโดยใช้ Keyboard แล้วกดปุ่ม Enter ก็ได้ ถ้าหากโปรแกรมพบสินค้าที่มี Serial Number ตรงกับที่ป้อน ก็จะดึงรายการสินค้า มาใส่ในตาราง Product (รายการสินค้า) พร้อมกับป้อนข้อมูล Serial Number ลงในตาราง Serial Number ให้ด้วย
                                                - การป้อน Serial Number ในบางครั้งอาจมีความเป็นไปได้ว่า Serial Number ที่ป้อนไปนั้น เป็น Serial Number ของสินค้า 2 รายการซึ่งเหมือนกัน ซึ่งถ้าเกิดกรณีนั้น โปรแกรมจะมีหน้าจอ ขึ้นมาให้เลือกว่า คุณต้องการขาย Serial Number ของสินค้าตัวไหน ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                                - จากภาพด้านบนจะมีรายการสินค้าขึ้นมาให้เลือก 2 รายการ โดยทั้ง 2 รายการนี้มี Serial Number เหมือนกัน ให้เราเลือกสินค้าที่ต้องการจะขาย จากนั้นกดปุ่ม OK เพิ่มทำการเพิ่มรายการสินค้าที่เลือก กับ Serial Number ที่ป้อนลงใน ตาราง Product (รายการสินค้า) กับ ตาราง Serial Number ในหน้าขาย

graphic
                4. ปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) - สำหรับปุ่มนี้ วีธีการใช้งานจะเหมือนด้านบนที่เคยอธิบายไว้แล้ว แต่ในระบบ Serial Number จะมีสามารถเลือก Serial Number ที่ต้องการจะขายในหน้า Select Product In Stock ได้เลย โดยเมื่อกดปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) แล้วจะมีหน้า เลือกสินค้าในคลังสินค้าขึ้นมาดังภาพด้านล่าง
graphic
                                - จากภาพด้านบนให้ค้นให้ทำตามขึ้นตอนนี้
A. ให้ค้นหาสินค้าที่ต้องการ จากคลังสินค้า โดยอาจจะระบุเงื่อนไขในการค้นหาสินค้าแล้วกดปุ่ม Search (ค้นหา)
                                                B. หลังจากการค้นหาแล้ว รายการสินค้าที่ค้นหาได้จะแสดงอยู่ในตาราง Stock Detail (รายการสินค้าในคลังสินค้า) ให้ Click เลือกรายการสินค้าที่ต้องการ เพิ่มสินค้าที่จะขายโดยใช้ Serial Number จากในตาราง
                                                C. กดปุ่ม View SN (ดู SN) แล้วจะมีหน้าจอขึ้นมาให้เลือก Serial Number ดังภาพด้านล่าง
graphic
                                                                - จากรูปด้านบนให้เลือก Serial Number ที่ต้องการขาย แล้วกดปุ่ม Enter หรือ Double Click ที่รายการ Serial Number หรือกดปุ่มOK เพื่อทำการเพิ่มรายการสินค้าที่จะขาย พร้อม Serial Number ลงในหน้าขาย

graphic
                5. ส่วน Auto Input ด้านล่าง - สำหรับส่วนนี้การใช้งานจะเหมือนกับ ส่วน Auto Input ด้านบน ที่ได้เคยอธิบายไว้แล้วด้านบน เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มข้อมูลลงใน ตาราง Product Set (เพิ่มชุดสินค้าใหม่)

graphic
                6. ปุ่ม 1 (เพิ่มสินค้าในชุด) - สำหรับปุ่มนี้ วีธีการใช้งานจะเหมือนกับปุ่ม Add (เพิ่มสินค้า) ด้านบนที่เคยอธิบายไว้แล้วด้านบน เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มข้อมูลลงใน ตาราง Product Set (เพิ่มชุดสินค้าใหม่)

- สำหรับในหน้าขายนี้ ด้านล่างจะมีช่องให้เช็คถูกตรงคำว่า Print Twice [ พิมพ์ใบขาย 2 ครั้ง ]
                - ตรงนี้ถ้าเช็คถูกแล้วทำรายการขาย โปรแกรมจะทำการพิมพ์ใบขายออกมา 2 ครั้ง โดยสามารถตั้งค่า Default ให้เป็น เช็คถูก ได้ที่ เมนู File (ไฟล์) -> Program Config (กำหนดค่าการใช้งานของโปรแกรม จะมีผลเฉพาะเครื่องนี้) -> พิมพ์ใบขาย 2 ครั้ง หลังจากทำรายการขาย (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วน กำหนดค่าการใช้งานโปรแกรม เฉพาะเครื่องนี้ (Program Config))

- หลังจากเราป้อนข้อมูล ในใบขายทั้งหมดครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม [F9] OK (Save) เพื่อทำการบันทึกรายการขายสินค้าใบนี้ แล้วจะมีหน้าจอสำหรับเก็บเงินลูกค้าขึ้นมา ให้ทำรับชำระเงินจากลูกค้า หรือ ถ้าหากลูกค้ายังไม่ชำระเงินในตอนนี้ ก็ให้กดปุ่ม OK ในหน้าเก็บเงิน แล้วตอบ Yes ทีหนึ่ง จะเป็นการ Mark ว่าใบขายใบนี้ลูกค้ายังชำระเงินไม่ครบ
 (วิธีการรับชำระเงินสามารถดูได้ที่ หัวข้อ รับชำระเงินจากลูกค้า (Receive Money))

- ถ้าหากต้องการออกจากหน้าขายสินค้า โดยไม่ต้องการบันทึกรายการขาย ให้กดปุ่ม Cancel เพื่อยกเลิกการทำรายการขายสินค้า